ประวัติความเป็นมา

คำว่า "จราจร"(Traffic) เริ่มใช้ในครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.2474 โดยกรม ตำรวจได้เสนอร่างพระราชบัญญัติจราจรทางบก ต่อกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอให้ออกเป็น กฎหมายใช้บังคับประชาชน โดยที่ขณะนั้นรถจำพวกต่าง ๆ ได้ เริ่มเพิ่มมากขึ้น เช่น รถแท็กซี่ ขนาดเล็ก และยังมีการสร้างสะพานพุทธยอดฟ้า เชื่อมระหว่างจังหวัดพระนคร-ธนบุรี ทำให้พื้นที่ เพื่อการจราจรกว้างขวางขึ้นมีผู้ นิยมใช้รถมากกว่าเดิม พ.ต.อ.ซี. บี. ฟอลเล็ต เป็นผู้ร่าง พ.ร.บ. จราจรทางบกขึ้น โดยอาศัยหลักกฎหมายจราจรของประเทศอังกฤษ มาดัดแปลงให้เข้ากับสภาพของ ประเทศไทยและได้ผ่านการ พิจารณาจาก สภาผู้แทนราษฎรให้ใช้เป็นกฎหมาย ได้เมื่อ พ.ศ.2477

จากนั้นมาคำว่า "จราจร" ก็ได้เริ่มแพร่กระจายออกไปถึง ประชาชน การจราจรนั้นหมายถึง คน สัตว์ และยวดยานที่สัญจรไปมาถนนหลวง โดยเคลื่อนด้วยแรงคนหรือเครื่องจักร หรือ ลากจูงไปด้วยสัตว์พาหนะ แต่การ จราจรในประเทศไทยเริ่มมีมาตั้งแต่ พ.ศ.2470 แล้ว ขณะนั้นมีรถยนต์ไม่เกิน 1,000 คัน มีถนนที่รถเดินได้สะดวกเพียงไม่กี่สาย และเมื่อถึงราว พ.ศ.2502 เป็นต้นมา การ จราจรในเมืองหลวงก็เริ่มเติบโตขึ้น เพราะมีรถชนิดต่าง ๆ มากมายหลายหมื่นคัน จนเกิดเป็นปัญหาต่อมา
ภูมิหลังและวิวัฒนาการของกองบังคับการตำรวจจราจร

พศ.2470

ถือเป็นกำเนิดของการจราจรในประเทศไทย ในสมัยนั้นอำนาจ การควบคุมเป็นของ "กองทะเบียน" ผู้บังคับบัญชาสูงสุดคือ พ.ต.ท.หลวง พิจารณาพลกิจ สารวัตรใหญ่กองพิเศษตำรวจนครบาล
พศ.2475

พ.ต.ต.หลวงชาติตระการโกศล ริเริ่มให้ฟื้นฟูการตรวจจัดการจราจร เพราะยานพาหนะและถนนมีเพิ่ม ขึ้น ตำรวจตรวจการจราจรโดยใช้ รถจักรยานยนต์พ่วงข้างเป็นพาหนะ-พ.ศ.2480 จัดตั้ง "กองตำรวจเทศบาล" โดยมี พ.ต.ท.หลวงชาติ ตระการโกศล เป็นผู้กำกับการ ขึ้นตรงต่อกรมตำรวจ ส่วนด้านการเงินเทศบาลเป็นผู้จ่าย
พศ.2491

ยุบเลิกกองตำรวจเทศบาล แล้วตั้ง "กองกำกับการจราจร" ขึ้นใน สังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล
พศ.2498

กรมตำรวจยกฐานะกองกำกับการจราจร เป็นกองบังคับการ โดยรวม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจัดตั้ง ขึ้นใหม่ เรียกชื่อว่า "กองสวัสดิภาพประชาชน" แบ่งย่อยเป็น 3 กองกำกับการ คือ กองกำกับการแผนการจราจร กอง กำกับการ ดับเพลิง และกองกำกับการทั่วไป มี พ.ต.อ.สุดสงวน ตัณสถิตย์ เป็นหัวหน้ากอง
พศ.2502

ยานพาหนะได้เพิ่มจำนวนขึ้นเป็นหมื่น ๆ คัน กองกำกับการแผนการ จราจรรับงานไม่ไหว ประกอบกับ ต้องรับผิดชอบงานอีกหลายด้าน อีกทั้งมีหน่วยงาน ฝากอีก 2 หน่วย คือ หน่วยสำรวจและจัดทำแผนที่ กระทรวง มหาดไทย และกอง กำกับการตำรวจม้า กรมตำรวจจึงได้มีการแก้ไขพระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการ เสียใหม่โดย ยุบเลิกกองสวัสดิภาพประชาชาชนแล้วตั้ง "กองตำรวจจราจร" ขึ้นในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยมีหน้า ที่เฉพาะการจราจรด้านเดียว มี พล.ต.ต.สุดสงวน ตัณสถิตย์ เป็นผู้บังคับการ
พศ.2505

มีนโยบายจัดตั้งตำรวจหญิงขึ้นในกองตำรวจจราจร รุ่นแรกมี 26 คน ใช้เวลาอบรม 3 เดือน โดยมีหน้าที่ช่วยเหลือเด็กและประชาชน ในเวลาข้าม ถนน ตามทางข้ามหน้าโรงเรียนต่าง ๆ แต่ต่อมาได้ไปปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์ควบคุม การจราจร
พศ.2509

เริ่มการทดลงตั้งศูนย์ควบคุมการจราจร และติดต่อประสานงานระหว่าง ตำรวจสายตรวจกับศูนย์ฯ โดยใช้วิทยุสื่อสาร ซึ่งได้ผลดีและได้ดำเนินการตลอดมา ศูนย์นี้มีหน้าที่รับผิดชอบความสะดวกและความปลอดภัย ของประชาชนผู้ใช้ถนนทั่วเขต กรุงเทพมหานคร
พศ.2532

ระเบียบกรมตำรวจว่าด้วยกำหนดหน้าที่การงานกำหนดให้ "กองบังคับการตำรวจจราจร" ใช้คำย่อว่า "บก.จร." มีหน้าที่จัดการจราจรและ รักษาความปลอดภัยในการจราจรทางบกในเขตพื้นที่ ของกองบัญชาการ ตำรวจนครบาล ตลอดจนการบังคับใช้กฎหมายจราจรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง แบ่งส่วนราชการเป็น 2 กองกำกับการ และ 1 งาน คือ
1. กองกับการกลาง แบ่งเป็น 5 แผนก คือ แผนกตรวจและจัดการจราจร แผนกแผนการ แผนกสถิติและวิจัย แผนกสอบสวนอุบัติเหตุ และแผนกอบรม
2. กองกำกับการช่าง แบ่งเป็น 3 แผนก คือ แผนกสร้าง แผนกสัญญาณไฟฟ้าการจราจร และแผนกช่างเครื่องยนต์
3. งานควบคุมการจราจรบนทางด่วนพิเศษ แบ่งเป็น 2 งาน คือ งานตรวจและจัดการจราจรบนทางด่วน และงานสอบสวนคดีจราจร
พศ.2535

ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกองบังคับการตำรวจจราจร ออกเป็น 6 กองกำกับการ ได้แก่
1. กองกำกับการอำนวยการ รับผิดชอบงานอำนวยการของกองบังคับการตำรวจจราจร
2. กองกำกับการ 1 รับผิดชอบการจราจรทางบกในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ยกเว้นทางพิเศษ
3. กองกำกับการ 2 รับผิดชอบการจราจรบนทางด่วนหรือทางพิเศษ
4. กองกำกับการ 3 รับผิดชอบงานเกี่ยวกับใบสั่งของกองบัญชาการตำรวจนครบาล ประเมินผลและฝึกอบรมผู้กระทำความผิดจราจร
5. กองกำกับการ 4 รับผิดชอบศูนย์ควบคุมการจราจรและงานเทคนิคการจราจร
6. กองกำกับการ 5 รับผิดชอบงานตรวจพิสูจน์รถที่เกิดอุบัติเหตุ ผู้ขับขี่ และมลภาวะ ที่เกี่ยวกับการจราจร
พศ.2536

มีการดำเนินการตาม "โครงการบรรเทาปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพ มหานครตามแนวพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ใช้กำลังตำรวจจราจร จากสถานีตำรวจนครบาลในพื้นที่เป้าหมาย และต่อมาจัดตั้งเป็น "ฝ่ายปฏิบัติการจราจร ตามโครงการพระราชดำริฯ แก้ไขปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล"
พศ.2539

มีมติ ก.ตร. ให้เปลี่ยนชื่อฝ่ายปฏิบัติการจราจรตามโครงการพระราชดำริฯ แก้ไขปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็น "ฝ่ายปฏิบัติการพิเศษการจราจร" และกำหนดให้เป็นหน่วยงานในสังกัดกองบังคับการตำรวจจราจร ปัจจุบันกองบังคับการตำรวจจราจร จึงประกอบไปด้วย 6 กองกำกับการ กับอีก 1 ฝ่าย
โครงสร้างการบริหาร บก.จร.

Organization Chart

ผู้บริหาร บก.จร.

ลำดับผู้บังคับบัญชา บก.จร.
พล.ต.ต.สุวิชชา จินดาคำ
ผบก.จร.
พล.ต.ต.สุกิจ อรุณฤกษ์ถวิล
รรท.รอง ผบก.จร.(จ2)
พ.ต.อ.ธีรภพ รุมแสง
รอง ผบก.จร. (จ.3)
พ.ต.อ.สมโภช สุวรรณจรัส
รอง ผบก.จร. (จ.4)
พ.ต.อ.ณัฐพงษ์ เชื้อเดช
รอง ผบก.จร. (จ.5)
พ.ต.อ.จิรกฤต จารุนภัทร์
รอง ผบก. (จ.6)
พ.ต.อ.รุ่งสกุล บุญกระพือ
รอง ผบก.จร. (จ.7)
กองบังคับการตำรวจจราจรติดต่อ

กองบังคับการตำรวจจราจร 0-2515-3111
กองกำกับการ 1 บก.จร. 0-2515-3034 Facebook
กองกำกับการ 2 บก.จร. 0-2515-0222 Facebook
กองกำกับการ 3 บก.จร. 0-2515-3073 Facebook
กองกำกับการ 4 บก.จร. 0-2515-3000 Facebook
กองกำกับการ 5 บก.จร. 0-2515-3040 Facebook
กองกำกับการ 6 บก.จร. 0-2354-6089 Facebook